E-Goal International Education. Australia - Thailand
Change Language : English Thailand
E-Goal International Education. Australia - Thailand E-Goal International Education. Australia - Thailand

เกี่ยวกับประเทศออสเตรเลีย




ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจเรียนต่อออสเตรเลีย

 

ลักษณะภูมิประเทศ
ออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งในเครือจักรภพอังกฤษ ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 6 ของโลก ขนาดพื้นที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร

 

รัฐและเมืองสำคัญ

 

 

มลฑลนครหลวงออสเตรเลีย ( Australian Capital Territory )
แคนเบอร์ร่า ( Canberra ) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรเลียอยู่ห่างจาก ซีดนีย์ ( Sydney ) ประมาณ 4 ชั่วโมงโดยรถไฟ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวที่ได้วางแผนผังเมืองเป็นอย่างดีก่อนการสร้างเมือง และเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่ง เช่น ทำเนียบรัฐบาล ( Parliament House) หอสมุดแห่งชาติ ( National Library) ทะเลสาบ ( Griffin Lake ) และอื่นๆ เมืองนี้ได้รับการกล่าวขานอีกว่าเป็นเมืองปลอดมลพิษ ไม่มีปัญหาการจราจร เป็นที่ตั้งสถานทูตและกงศุลของนานาประเทศ และองค์กรระดับชาติอีกหลายแห่ง

นิวเซาท์เวลส์ ( New South Wales )
ซิดนีย์ ( Sydney ) เป็นเมืองหลวงของรัฐ นิวเซาท์เวลส์ ( New South Wales ) รัฐนี้จะมีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นที่สุด และมีจำนวนนักศึกษาไทยไปศึกษามากที่สุด จัดได้ว่าเป็นเมืองที่มีแสงสีเสียงมาก เป็นรัฐที่มีความเจริญทางด้านวัตถุและด้านเศรษฐกิจสูงมาก มีสถานที่ที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง เช่น โอเปร่าเฮาส์ ( Opera House) แหล่งศูนย์กลางความเจริญ ( Centre Point) เมืองซิดนีย์เก่า ( Old Sydney Town) เป็นต้น

วิคตอเรีย ( Victoria)
เมลเบิร์น ( Melbourne) เป็นเมืองหลวงของรัฐวิคตอเรีย อยู่ถัดลงมาทางตอนใต้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ( New South Wales) มีนักศึกษาไทยไปศึกษาเป็นอันดับสองรองจากรัฐนิวเซาท์เวลส์ มีประชากรกว่า 3 ล้านคน เมลเบิร์น ( Melbourne) นับได้ว่าเป็นเมืองเศรษฐกิจรองมาจากซิดนีย์ ( Sydney) ได้รับขนานนามว่าเป็น Garden State เป็นรัฐซึ่งมีสวนสาธารณะมากกว่ารัฐอื่น และเป็นสถานที่ตั้งขององค์กรที่สำคัญต่าง ๆ อีกด้วย มีสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น เกรตโอเชียนโรด ( Great Ocean Road) ฟิลลิป ไอแลนด์ ( Philip Island) เป็นต้น

เซาท์ออสเตรเลีย ( South Australia)
อาดิเลด (Adelaide) เป็นเมืองหลวงของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย มีประชากรประมาณ 1 ล้านกว่าคน ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาล เพราะจะมีเทศกาลต่างๆตลอดเกือบทั้งปี มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการทำเหล้าไวน์และผลิตขนแกะ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐนี้เป็นพื้นที่แห้งแล้ง มีมหาวิทยาลัย 3 แห่ง คือ University of Adelaide, University of South Australia และ Flinders University โดยที่มหาวิทยาลัย University of South Australia ตั้งอยู่ในตัวเมือง ส่วนอีก 2 มหาลัยจะตั้งอยู่นอกตัวเมืองประมาณ 1-2 ช.ม

เวสเทอร์นออสเตรเลีย ( Western Australia)
เพิร์ธ ( Perth) เป็นเมืองหลวงของรัฐ เวสเทอร์นออสเตรเลีย ( Western Australia) เป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุด เมี่อเปรียบเทียบกับรัฐอื่น มีประชากรประมาณ 1 ล้านกว่าคน รัฐนี้มีเหมืองแร่ที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งผลิตเพชรได้มาก เวสเทอร์นออสเตรเลีย มีแนวชายฝั่งทะเลที่ทอดยาว ดังนั้นอาชีพประมงจึงเป็นอาชีพที่สำคัญมากอาชีพหนึ่งสำหรับประชากรในรัฐเวสเทอร์นออสเตรเลีย

มณฑลตอนเหนือ (Northern Territory)
ดาร์วิน ( Darwin) เป็นเมืองหลวงของมณฑล มณฑลแถบนี้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า ชาวอะบอริจิน มีจำนวนประชากรไม่มากนัก เมืองนี้จึงนับได้ว่าเป็นเมืองที่มีสังคมไม่ใหญ่มาก ดังนั้นความเป็นมิตรของคนท้องถิ่นต่อผู้มาเยือน จึงค่อนข้างจะมีมาก สภาพภูมิประเทศจะมีทิวเขาสูง ทะเลทราย และลุ่มแม่น้ำในบางตอน

ควีนสแลนด์ ( Queensland )
บริสเบน ( Brisbane ) เป็นเมืองหลวงของรัฐควีนสแลนด์ มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองมาจากเวสเทอร์นออสเตรเลีย ( Western Australia ) จำนวนประชากรอยู่อาศัยมาก เป็นอันดับสามรองจากซิดนีย์ ( Sydney ) และ เมลเบิร์น ( Melbourne ) รัฐนี้ได้รับการขนานนามว่า Sunshine State เป็นรัฐที่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อหลายแห่ง และมีชายหาดที่สวยงาม เช่น Gold Coast รวมทั้งแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก (เกรต แบร์เรีย รีฟ / Great Barrier Reefs)

ทัสเมเนีย ( Tasmania )
โฮบาร์ท ( Hobart ) เป็นเมืองหลวงของรัฐทัสเมเนีย ซึ่งเป็นรัฐที่เล็กที่สุด ทัสเมเนียมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะอยู่ทางใต้ของรัฐวิคตอเรีย ( Victoria ) ได้ขนานนามว่าเป็น สวิสเซอร์แลนด์ของออสเตรเลีย เพราะสภาพภูมิอากาศ และการปลูกที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับแถบยุโรป เป็นรัฐที่มีความสวยงามอย่างยิ่ง ค่าครองชีพทั่วไปของรัฐนี้ค่อนข้างถูกกว่ารัฐอื่น และมีจำนวนนักศึกษาไทยน้อยที่สุด

ฤดูกาล และภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศในประเทศออสเตรเลียจะแตกต่างกันไป เช่นแถบมณฑลตอนเหนือ ( Northern Territory ) หน้าร้อนจะมีอากาศร้อนมากกว่ารัฐอื่น ๆ ควีนสแลนด์ ( Queensland ) และรัฐออสเตรเลียตะวันตก ( Western Australia ) จะมีอากาศร้อนลดลงตามลำดับ ส่วนรัฐที่เหลืออากาศค่อนข้างจะอบอุ่นไม่ร้อนมาก อุณหภูมิในประเทศออสเตรเลียจะแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยประมาณ 12 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว และ 27 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อน โดยมีช่วงฤดูดังต่อไปนี้

 

ฤดูใบไม้ผลิ
( Spring)

ช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน อากาศดี ดอกไม้บานสวยงาม ผลไม้ในฤดูกาลมีเชอรี่ สตรอเบอรี่ และแตงโม

ฤดูร้อน
( Summer)

ช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางแห่งร้อนจัด และอาจมีไฟป่า ผลไม้ในฤดูกาล มีองุ่น พีช แอปเปิล ส้ม เชอรี่ และสตรอเบอรี่

ฤดูใบไม้ร่วง
( Autumn)

ช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศเริ่มเย็นลง โดยเฉพาะตามเมืองชายฝั่งทางตอนใต้ และเมืองในเขตป่าฝนจะมีฝนตกชุก บางแห่งอาจมีน้ำท่วม ผลไม้ในฤดูกาล มีองุ่น พีช แอปเปิล ส้ม และ สตรอเบอรี่

ฤดูหนาว
( Winter)

ช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม อากาศเย็นจัด มีหิมะตกบนภูเขาสูง อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งปี ออสเตรเลียจะมีฟ้าใสและแดดแรง โดยเฉพาะตามเมืองชายทะแล และเมืองในแถบทะเลทราย จึงควรป้องกันการถูกแดดเผา โดยการใส่หมวกปีกกว้าง และทาครีมกันแดดเสมอ

 

อุณหภูมิ ( Temperature)

 

ชื่อเมือง

อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด
ในฤดูหนาว (C)

อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด
ในฤดูร้อน (C)

Canberra

0-13

26-30

Sydney

9-17

25-32

Melbourne

6-14

14-25

Adelaide

19

29

Perth

15-18

26-35

Darwin

30

34

Brisbane

15-20

14-25

Hobart

0-12

20-26

 

ระบบการศึกษา

 

สำหรับผู้สนใจเรียนต่อออสเตรเลีย ควรทราบถึงระบบการศึกษาของออสเตรเลีย ระบบการศึกษาของออสเตรเลียแบ่งออกเป็น 4 ระดับ อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งประกอบด้วยวิทยาลัยเทคนิคและการศึกษาต่อเนื่อง ( TAFE) และมหาวิทยาลัย การศึกษาภาคบังคับของออสเตรเลียเริ่มตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 10 (Year 1-10) หรือระหว่างอายุ 6-15 ปี เมื่อนักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว ก็สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรืออาจศึกษาต่อหลักสูตรระยะสั้นในวิทยาลัย TAFE หลังจากจบการศึกษาภาคบังคับแล้วนักเรียนส่วนใหญ่เลือกเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอีก 2 ปี เพื่อเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเทคนิคในระดับอุดมศึกษา สำหรับนักศึกษาต่างชาติสามารถสมัครเข้าเรียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมปีที่ 1 (Year 7) จนถึงปริญญาเอก ทั้งในสถาบันของรัฐและเอกชน

 

 

การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education)
ภาคการศึกษา ( Academic Term)
ปีการศึกษาของโรงเรียนระดับประถมและมัธยมเริ่มปลายเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ และแบ่งออกเป็น 4 เทอม คือ
- เทอม 1 ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน
- เทอม 2 ระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน
- เทอม 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน
- เทอม 4 ระหว่างเดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม
ทางโรงเรียนอาจพิจารณารับนักเรียนเข้าเรียนระหว่างปี

 

การศึกษาระดับวิทยาลัย หรืออาชีวศึกษา ( College & TAFE)
สถานศึกษาอาชีวศึกษาที่เป็นของรัฐบาลในออสเตรเลียเราจะเรียกว่า TAFE หรือชื่อเต็มคือ Technical And Further Education เช่น TAFE of Western Australia, TAFE of New South Wales เป็นต้น ส่วนของโรงเรียนเอกชนจะเรียกว่า Polytechnic หรือ Institute of Technology หรือ College เช่น Holmes College, Russo Institute of Technology โดยระบบการศึกษาต่ออาชีวศึกษาของประเทศออสเตรเลียนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องจบมัธยมปีที่ 4 (Year 10) ถึงมีสิทธิศึกษาต่อสายอาชีพ ซึ่งใช้เวลาอีก 2 ปีหลังจากที่จบจาก TAFE และมีสิทธิเข้ามหาวิทยาลัยต่อหลักสูตรปริญญาตรี
ภาคการศึกษา ( Academic Term)
TAFE มีการแบ่งภาคการศึกษาออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ( 2 Semesters) ภาคการศึกษาแรกเริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ และภาคการศึกษาที่ 2 เริ่มปลายเดือนกรกฎาคม

การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (University)
ออสเตรเลียปัจจุบันมีมหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีและวิทยาลัย ซึ่งได้รับการยกระดับวิทยะฐานะเป็นมหาวิทยาลัยรวมทั้งหมด 39 แห่งทั่วประเทศ คุณภาพได้มาตรฐานเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยชั้นดีของประเทศอังกฤษ แคนาดา และอเมริกา มหาวิทยาลัยเป็นของรัฐบาลทั้งหมด ยกเว้น Bond University และ The University of Notre Dame
สถาบันอุดมศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก บางสถาบันอาจจะเปิดสอนในระดับอนุปริญญา (Diploma) สาขาที่เปิดสอนครอบคลุมทั้งสาขาวิชาชีพ และวิชาการในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ และธุรกิจ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี ( Bachelors Degree)
โดยทั่วไปหลักสูตรปริญญาตรีใช้ระยะเวลาศึกษา 3 ปี แต่บางสาขาวิชาอาจใช้เวลามากกว่านั้น เช่น แพทย์ศาสตร์ 6 ปี สถาปัตยกรรม ทันตกรรม 5 ปี วิศวกรรมศาสตร์ 4 ปี เป็นต้น สำหรับผู้ต้องการได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม ต้องเพิ่มระยะเวลาเรียนอีก 1 ปี โดยทั่วไปนักศึกษาจะต้องเรียน ผสมระหว่างการฟังคำบรรยายและการเขียนวิทยานิพนธ์ ในกรณีที่สอบได้คะแนนดีมาก คือได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ( First Class Honours) จะได้รับการยอมรับวุฒิให้เทียบเท่ากับปริญญาโท และสามารถเข้าศึกษาต่อปริญญาเอกได้ทันที ออสเตรเลียไม่มีระบบเอ็นทรานซ์เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย การรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีพิจารณาจากผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษา ในกรณีที่เป็นนักเรียนต่างชาติทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณาจากผลการเรียนในระดับมัธยมปลาย หรือ ปีการศึกษาที่ 1 ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะพิจารณาคุณสมบัติในการเข้าเรียนระดับปริญญาตรีของนักเรียนจากประเทศต่าง ๆ แตกต่างกันไป เช่นในกรณีประเทศไทยบางสถาบันอาจพิจารณารับผู้ที่จบ ม. 6 ด้วยเกรด 2.5 ขึ้นไป หลายสถาบันต้องการผู้ที่จบปี 1 ในระดับมหาวิทยาลัยแล้วเท่านั้น นอกจากนี้ สถานศึกษาทั่วไปของออสเตรเลียยังไม่ยอมรับผลการสอบเทียบ หรือ ก.ศ.น.ในประเทศไทย เว้นแต่จะได้เกรด 2.5 ขึ้นไป และได้มีการเปิดหลักสูตร “ การศึกษาพื้นฐาน ” (Foundation Studies) สำหรับผู้ที่ประสงค์จะเข้าสถาบันนั้น ๆ แต่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอในการศึกษาต่อมหาวิทยาลัย หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่เปิดขึ้นสำหรับนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะ ใช้เวลาศึกษา 1 ปี หากสามารถสอบผ่านปีพื้นฐานได้ ก็จะได้รับการตอบรับเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ตามสาขาที่เลือกไว้ แต่ทั้งนี้จะต้องมีผลการสอบตามที่คณะวิชาและมหาวิทยาลัยต้องการด้วย
หลักสูตรระดับวุฒิบัตรบัณฑิต (Graduate Certificate)
สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีแล้ว แต่มีคุณสมบัติไม่พอที่จะเข้าเรียนระดับอนุปริญญาโทหรือปริญญาโท ทางมหาวิทยาลัยจะจัดให้เรียนหลักสูตรวุฒิบัตรบัณฑิตก่อน ซึ่งจะใช้เวลาในการเรียน 6 เดือน

หลักสูตรระดับอนุปริญญาโท ( Graduate Diploma)
เป็นหลักสูตรบัณฑิตศึกษาใช้ระยะเวลาศึกษา 1 ปี สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรี ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแล้วและต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเฉพาะด้าน เป็นหลักสูตรฟังคำบรรยาย ( Coursework) อาจมีการทำ project หรือมีภาคปฏิบัติในบางสาขาวิชา ในหลายสาขาวิชาเช่น MBA ได้จัดให้ Graduate Diploma เป็นหลักสูตรปีแรก สามารถผ่านไปเรียนปีที่สองในระดับปริญญาโทได้ ถ้ามีคะแนนเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะประมาณ 60%

หลักสูตรระดับปริญญาโท (Masters Degree)
ใช้ระยะเวลาศึกษา 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาและลักษณะการเรียน ระบบการเรียนมี 3 ลักษณะคือ
1. การเรียนแบบเข้าฟังคำบรรยาย ( Coursework)
2. การเรียนแบบเขียนวิทยานิพนธ์ ( Thesis)
3. การเรียนผสมผสานระหว่างการเข้าฟังคำบรรยายและการเขียนวิทยานิพนธ์ ( Coursework and Thesis) บางสถาบันอนุญาตให้นักศึกษาเลือกอัตราส่วนระหว่างการเรียนการสอน เช่น นักศึกษาอาจจะเลือก Coursework 50% และ Thesis อีก 50% หรืออัตราส่วนระหว่าง Coursework และ Thesis เป็น 70% - 30% บางสาขาโดยเฉพาะ MBA รับผู้ที่จบปริญญาตรี สาขาใดก็ได้แต่จะต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 1-2 ปี ( ในกรณีที่จบปริญญาตรีสาขาอื่น)ทางมหาวิทยาลัยอาจให้ทดลองเรียน 1 ปีก่อน ซึ่งเรียกว่า Master Qualifying ต้องสอบให้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจจึงจะสามารถต่อไปในระดับปริญญาโทได้ ภาคการศึกษา (Academic Term)
การจัดภาคการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะใช้ระบบเทอม ( Terms) และซีเมสเตอร์ ( Semester) (4 เทอม หรือ 2 ซีเมสเตอร์ ในหนึ่งปี) ดังนั้น 2 เทอม จึงเป็น 1 ซีเมสเตอร์ ซึ่งบางสถาบันใช้ทั้งสองระบบควบคู่กันไป โดยเปิดการเรียนการสอนเริ่มต้นคือ
1. เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน
2. เดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม
บางสถาบันเปิดสอนภาคฤดูร้อนระหว่างกลางเดือนธันวาคมหรือเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ บางสาขาวิชาเปิดให้ลงทะเบียนได้ทั้งซีเมสเตอร์แรก และซีเมสเตอร์ที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวิชาบังคับ หรือวิชาหลักของคณะ หรือวิชาเอกของภาควิชา

ค่าเล่าเรียน (โดยประมาณ)

 

ค่าเล่าเรียน / ปี

ออสเตรเลีย AUS$

ภาษาอังกฤษ

8,000 - 12,400

มัธยมศึกษา

7,000 - 12,000

ประกาศนียบัตร/อนุปริญญา

7,700 - 15,000

ปริญญาตรี : ศิลปศาสตร์

8,200 - 12,000

ธุรกิจ

9,600 - 13,500

วิทยาศาสตร์/วิศวกรรม

9,000 - 25,000

ปริญญาโท : ศิลปศาสตร์

8,200 - 12,000

ธุรกิจ

10,000 - 37,000

วิทยาศาสตร์/วิศวกรรม

9,500 - 22,500

ปริญญาเอก

10,000 - 22,500

ค่าใช้จ่ายด้านที่พัก,อาหารและการเดินทาง

9,000 - 12,000

(ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย
นักเรียน นักศึกษาควรสอบถามเพิ่มเติมจากสถาบันที่ต้องการศึกษาต่อ)

 

Accommodation/Visa ที่พักและวีซ่า

 

วีซ่านักเรียน
การยื่นขอวีซ่าจะพิจารณาตามระยะเวลาของการเรียน ในกรณีที่ลงทะเบียนเรียนต่ำกว่า 90 วันสามารถยื่นขอวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวได้ แต่ถ้าต้องการเรียนแบบเต็มเวลาเป็นระยะเวลามากกว่า 90 วันจะต้องยื่นใบสมัครขอวีซ่านักเรียน

1. การยื่นวีซ่าด้วยตนเองในแบบปกติ
หลักฐานที่ต้องใช้มีดังนี้

  • แบบฟอร์ม 157A ซึ่งกรอกและลงนามโดยสมบูรณ์
  • ต้นฉบับเอกสารยืนยันการตอบรับจากสถาบันการศึกษาที่ได้สมัครไว้
  • หนังสือเดินทางของผู้สมัครขอวีซ่าทุกคน
  • รูปถ่ายสีหรือขาวดำขนาด1-2 นิ้วจำนวน 1 รูป
  • ต้นฉบับพร้อมสำเนาเอกสารรับรองการศึกา  เอกสารรับรองผลการเรียน ซึ่งรวมถึงประกาศนียบัตรการเข้าอบรมวิชาต่างๆและใบแสดงผลการเรียน
  • ใบรับรองฐานะการเงินพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจากธนาคารสำเนาบัญชีสมุดเงินฝากพร้อมตัวจริงย้อนหลัง 6 เดือน
  • เอกสารยืนยันตัวบุคคล ได้แก่ บัตรประชาชน หรือ สูติบัตร เอกสารทะเบียนบ้านของผู้สมัคร ต้นฉบับพร้อมสำเนา
  • จดหมายรับรองการทำงาน(หากมีประวัติการทำงาน)
  • หลักฐานของการจ่ายค่าประกันสุขภาพของนักเรียน
  • หลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัครและผู้รับรองฐานะทางการเงิน

2. การยื่นวีซ่าด้วยตนเองแบบวีซ่านักเรียนอิเล็กทรอนิกส์

สิ่งที่จำเป็นสำหรับการยื่นวีซ่าด้วยตนเองแบบวีซ่านักเรียนอิเล็กทรอนิกส์

  • ต้องเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก(ใบสมัครประเภทเกณฑ์พิจารณาระดับ 1)
  • ต้องอยู่ในประเทศออสเตรเลีย
  • ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • ต้องมีเอกสารอิเล็กทรอนิคซึ่งยืนยันการตอบรับจากสถาบันการศึกษา (eCoE)
  • ไม่สามารถยื่นสมัครล่วงหน่านานเกินกว่า 90 วันก่อนที่หลักสูตรการศึกษาของท่านจะเริ่ม
  • สามารถยื่นใบสมัครได้สำหรับตัวท่านเองเท่านั้น

ที่พักอาศัย

 

1. ที่พักประเภทอยู่กับครอบครัวชาวออสเตรเลีย  หรือ อยู่ฟาร์ม (Homestay และ Farmstay) ประมาณสัปดาห์ละ A$ 110-A$270
การพักอาศัยกับครอบครัวชาวออสเตรเลีย  นับเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับช่วงเดือนแรกของการไปศึกษา  เพราะนักศึกษาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่  การพักกับครอบครัว จะทำให้นักศึกษามีผู้ดูแล  อำนวยความสะดวก  แนะนำเกี่ยวกับการใช้ชีวิต  สถานที่สำคัญต่างๆ วิธีการเดินทางและอื่นๆ  ที่สำคัญคือ ทำให้ได้ฝึกภาษาอังกฤษจากการใช้ชีวิตจริง

2.
ที่พักแบบโฮสเทลส์  และเกสท์เฮาส์ (Hostels และ Guest Houses) ประมาณสัปดาห์ละ A$80-135A$
โดยทั่วไป ที่พักประเภทบ้านเช้านั้น  ดำเนินการโดยองค์กรต่างๆ เช่น Youth Hostels Australia (YMCA) ที่พักประเภทนี้  นักศึกษาจะต้องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน  ส่วนใหญ่แล้วที่พักประเภทนี้จะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแบบพักกันแบบครอบครัว  แต่เมื่อคิดรวมเรื่องอาหารแล้ว จะพบว่าที่พักแบบ hostel จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบพักกับครอบครัวประมาณ 20% แต่นักศึกษาจะมีความอิสระมากกว่า

3.
ที่พักประเภทเช่าอาศัยอยู่ร่วมกัน(Shared Accommodation) ประมาณสัปดาห์ A$50-A$160  ที่พักประเภทเช่า (Rental Accommodation) ประมาณสัปดาห์ละ A$70A$350
หลังจากได้เข้าเรียนมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว  นักศึกษาส่วนมากจะเลือกใช้บริการที่พักประเภทนี้ในระยะยาว  เนื่องจากจะประหยัดและเป็นอิสระมากกว่า และสามารถเลือกเพื่อนร่วมเช่าบ้านได้เอง

4.
ที่พักในโรงเรียนประจำ(Boarding Schools) ประมาณปีละ A$8000-A$11000
โรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชนส่วนมาก  มีห้องพัก พร้อมดูแลเรื่องอาหาร และซักรีด สำหรับนักเรียนต่างชาติ (หมายเหตุ : สำหรับโรงเรียนประจำประเภทนี้ นักเรียนจะต้องเสียค่าเล่าเรียนเพิ่มเติมจากค่าหอพัก)

5.
ที่พักในมหาวิทยาลัยประมาณสัปดาห์ละ A$80-A$250
มหาวิทยาลัยส่วนมาก จะมีที่พักหลายประเภท   ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือบริเวณใกล้ๆ กับวิทยาเขต ซึ่งปกติจะมีค่าเช่าถูกและเป็นทางเลือกที่นิยมมากในหมู่นักศึกษาต่างชาติ  ที่เรียนหลักสูตรแบบเต็มเวลา   ส่วนค่าเช่าจะแตกต่างกันไป ตามประเภทของที่พัก

6.
ที่พักประเภท residential colleges
ที่พักประเภทนี้จะจัดอาหาร ทำความสะอาด และดูแลที่พักให้ พร้อมรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา และสังคม การสอนเสริม ห้องสมุด และโดยปกติจะมีคอมพิวเตอร์ให้ใช้ด้วย แต่ค่าเช่าประเภทนี้จะค่อนข้างแพง

 

ระบบไฟฟ้า

 

ระบบไฟฟ้าในบ้านนั้นอยู่ที่ 230-250 โวลต์ ซึ่งสามารถนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปใช้ได้เลย เป็นแบบตัวเสียบระบบ AC ที่มี 3 หัว สามารถนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปใช้ได้แต่ปลั๊กไฟบ้านเราจะเป็น 2 หัว น้อง ๆ สามารถหาชื้อหัวปลั๊กจากเมืองไทยไปก็ได้หรือไปหาซื้อที่ออสเตรเลียก็ได้

 

ธนาคารและเครื่องบริการเงินฝากถอนเงินอัตโนมัต ิ(ATM)

 

ประเทศออสเตรเลียมีธนาคารเป็นจำนวนมาก และต่างก็เป็นธนาคารที่จดทะเบียนภายใต้ข้อกำหนดของรัฐบาลออสเตรเลียทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามมี 5 ธนาคารหลักในออสเตรเลีย ได้แก่ ธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย ( National Australia Bank )
ธนาคารแห่งเครือจักรภพ ( Commonwealth Bank ) ธนาคารเวสต์แพ็ค ( Westpac )
ธนาคารเอเอ็นแซด ( ANZ Bank ) และธนาคารเซ็นต์จอร์จ ( St. George Bank )
ปรกติธนาคารจะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 9.30 น. จนถึง 16.00 น.
ในวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี และในวันศุกร์เปิดบริการถึงเวลา 17.00 น.
ในประเทศออสเตรเลียจะมีเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine-ATM)
ซึ่งจะมีอยู่ตามศูนย์การค้าทั่วไป นักศึกษาสามารถใช้ฝากเงินและถอนเงินได้ตลอด 24 ชม. นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการชำระเงินแบบ Electronic Funds Transfer at point of sale-EFTPOS ตามร้านค้าใหญ่ๆ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายของเฉพาะอย่างหลายแห่ง ซึ่งสามารถถอนเงินสดเพิ่มเติมได้เมื่อซื้อ

 

ขอเปิดบัญชีธนาคาร

เอกสารที่ต้องเตรียมเมื่อขอเปิดบัญชีธนาคาร

  1. หนังสือเดินทาง
  2. ที่อยู่ของผู้ขอเปิดบัญชี เพื่อจัดส่งเอกสารต่อไป
  3. password ของบัญชี
  4. PIN number ของบัญชี
  5. เงินสดจำนวน AUD$50 เพื่อเปิดบัญชี

ขั้นตอนง่ายในการเปิดบัญชี

  1. 1. นำหนังสือเดินทางไปขอเปิดบัญชี
  2. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการเปิดบัญชี
  3. เจ้าหน้าที่จะถามคำถามง่าย ๆ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น เช่น
    • ชื่ออะไร
    • ชื่อคุณสะกดอย่างไร
    • ที่อยู่
    • ขอดูหนังสือเดินทาง
    • เบอร์โทรศัพท์
    • จะมีเงินโอนมาจากประเทศของคุณไหม
    • บ่อยแค่ไหนที่คุณจะถอนเงิน
  4. เจ้าหน้าที่จะถามคุณเกี่ยวกับ “secret password”
  5. ผู้ขอเปิดบัญชีจะต้องเซ็นเอกสารให้ตรงกัลป์ปลายเซ็นในหนังสือเดินทาง
  6. เจ้าหน้าที่จะชี้แจ้งเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้คุณทราบ
  7. บัตร ATM จะถูกส่งไปให้ทางไปรษณีย์ภายใน 5 วันทำการ แต่คุณสามารถเบิกถอนเงินได้ที่ธนาคารระหว่างที่รอบัตร ATM

ข้อแนะนำก่อนการเดินทางไปเรียนต่อออสเตรเลีย

 

วีซ่า
ตรวจสอบวีซ่าที่ได้รับว่าถูกต้องหรือไม่ พร้อมถ่ายสำเนาไว้ให้กับผู้ปกครองที่เมืองไทย ในกรณีที่ต้องอ้างอิงถึง อาทิเช่น การจัดส่งเงินไปให้กับนักศึกษาภายหลัง

การจัดกระเป๋าขึ้นเครื่อง
โดยทั่วไป สายการบินที่บินจากประเทศไทยไปยังประเทศออสเตรเลียในชั้นประหยัด อนุญาตให้ผู้เดินทางสามารถนำสัมภาระติดตัวได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม (check-in เข้าเครื่อง) และกระเป๋าติดตัวขึ้นไปบนเครื่องอีก 1 ใบซึ่งมีน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม หากมีน้ำหนักเกินสามารถติดต่อกับสายการบินล่วงหน้าก่อนได้ เพื่อ ดำเนินการขอผ่อนผัน หรือชำระค่าบริการเพิ่มเติม

การตรวจสุขภาพ
นักศึกษาควรเตรียมตัวด้านสุขภาพนอกเหนือจากที่โรงพยาบาลตรวจตราเงื่อนไขที่สถานทูตกำหนดเมื่อยื่นขอวีซ่า โดยเฉพาะในเรื่องของหมอฟัน และจักษุแพทย์ เนื่องจากประกันสุขภาพจะไม่ครอบคลุม อย่างไรก็ดี ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน สำหรับนักศึกษาที่ต้องการไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลีย
เอกสารเกี่ยวกับการเรียนในประเทศออสเตรเลีย
รวมถึงใบตอบรับการลงทะเบียนหรือ COE ผล IELTS หรือ TOFEL ใบผ่านงาน Transcript ควรถ่ายเอกสารเหล่านี้ให้ผู้ปกครองเก็บไว้ที่บ้าน 1 ชุด ในกรณีตัวจริงหายหรือในบางกรณีผู้ปกครองอาจต้องการหลักฐานเหล่านี้ในการอ้างอิงภายหลัง

 

รายการสิ่งของที่ต้องนำติดตัวเวลาขึ้นเครื่องบิน

  • หนังสือเดินทางที่มีวีซ่าประทับ
  • ตั๋วเครื่องบิน
  • เอกสารเกี่ยวกับการเรียน และที่พัก
  • ปากกา สำหรับกรอกใบ ต.ม. 6 และใบขาเข้า
  • คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (ถ้ามี)
  • เงินสด (ไม่ควรเกิน A$ 3000)
  • Traveler Cheque, Bank draft หรือ บัตรเครดิต
  • เสื้อกันหนาว 1 ตัว
  • Overnighter ควรเตรียมของใช้ส่วนตัวสำหรับกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นเช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน โลชั่นฯลฯ ขนาดพกพา เสื้อลำรอง ชั้นใน เป็นต้น

สิ่งที่ไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศ

ยกเว้นว่าอยู่ภายใต้เงื่อนไขการกักกันโรค และได้รับอนุมัติโดยแผนกบริการตรวจตรา และกักกันโรคของออสเตรเลียก่อนที่จะออกเดินทาง

  • นก ขนนก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เลี้ยงที่มีปีก
  • เมล็ดธัญพืช และถั่วตากแห้ง
  • ผลิตภัณฑ์จากนม (ยกเว้นผลิตภัณฑ์จากประเทศนิวซีแลนด์ และอาหารหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัมสำหรับทารก)
  • ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไข่
  • ผัก และผลไม้สด
  • น้ำผึ้ง และผลิตภัณฑ์จากผี้ง เช่น นมผึ้ง
  • แมลง สัตว์ และพืชที่มีชีวิต
  • เนื้อ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อ (ทั้งสดและแห้ง) รวมถึงเนื้อหมูกระป๋อง
  • กิ่งพืชที่เตรียมไว้จะตอนเพื่อปักชำ หัว หรือกระเปาะ หรือเชื้อเพาะปลูกของ พืช หรือของสิ่งที่มีชีวิต
  • ปลาเทร้าท์ และแซลมอน (สด ดอง หรือแห้ง)
  • ดิน และทราย
  • ฟาง และหญ้าแห้ง ทั้งที่บรรจุหรือยัดเป็นหีบห่อ และเครื่องประดับที่ทำจากฟาง

สิ่งที่จำเป็นอื่นๆ ที่ควรนำไป

 

เอกสารด้านการเรียน ตัวจริงพร้อมสำเนา อาทิเช่น ใบตอบรับและใบยืนยันให้เข้าเรียนจากสถาบันการศึกษาในประเทศออกเตรเลีย ใบเสร็จค่าเล่าเรียน ผล IELTS หรือ TOEFL ใบผ่านงาน Transcript รูปถ่าย เป็นต้น เอกสารเหล่านี้ควรทำสำเนาเก็บไว้ที่บ้าน 1 ชุด รวมทั้งสำเนาหนังสือเดินทาง และวีซ่า ในกรณีตัวจริงเกิดเสียหาย หรือในกรณีที่ผู้ปกครองอาจต้องการหลักฐานเหล่านี้ในการส่งเงิน

เสื้อผ้า : ควรซื้อจากเมืองไทย เพราะราคาถูก และทันสมัยกว่าเสื้อผ้าในประเทศออสเตรเลียมาก ควรเอาเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่ต้องรีด เช่น เสี้อยืด กางเกงยีนส์ สำหรับนักศึกษาหญิง ควรเตรียมชุดชั้นในให้เพียงพอ เพราะมักพบปัญหาเรื่องขนาดไม่พอดีสำหรับคนไทย

เสื้อกันหนาว : ควรเตรียมเสื้อผ้ากันหนาวที่สามารถกันลมได้ไปด้วย ยิ่งถ้าต้องไปอยู่ในเมืองที่มีอากาศค่อนข้างหนาว เช่น Melbourne Canberra หรือ Hobart หรือต้องเดินทางไปออสเตรเลียในช่วงฤดูหนาว ระหว่าง กรกฎาคม-กันยายน นอกจากนี้ควรเตรียมเสื้อผ้าสำหรับงานที่เป็นทางการ หรืองานวัฒนธรรมชุดสูทหรือชุดราตรีสักชุด สำหรับ นักเรียนมัธยมความสวมใส่เครื่องแบบตามที่โรงเรียนกำหนด

ตำรา : ไทย-อังกฤษ, อังกฤษ-ไทย และอังกฤษ-อังกฤษ หรือ Talking Dictionary และควรนำตำราไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และอุปกรณ์เครื่องเขียนแบบเรียน และเครื่องคิดเลขไปด้วย ของใช้ส่วนตัว: ควรเตรียมของใช้ส่วนตัวในชีวิตประจำวันไปอย่างเพียงพอในช่วงแรก เช่น สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ มีดโกนหนวด ผ้าอนามัย เครื่องสำอาง ฯลฯ

เงินสด : รัฐบาลออสเตรเลียอุนญาตให้ผู้เดินทางเข้าประเทศออสเตรเลียพกพาเงินสดในทุกรูปแบบติดตัวเข้า ประเทศออสเตรเลียได้ไม่เกิน A$ 10,000 โดยไม่ต้องสำแดง แต่เพื่อความปลอดภัย นักศึกษาควรนำเงินสดติดตัวประมาณ A$ 1,500-3,000 ที่เหลือให้ทำเป็น Bank draft สั่งจ่ายชื่อนักศึกษาเอง หรือ Traveler Cheque หรือใช้ระบบเบิกเงินสดจากบัตร ATM หรือบัตรเครดิตเมื่อเดินทางไปถึง แต่นักศึกษาต้องเสียอัตราแลกเปลี่ยนตามวันที่เบิก

ยาประจำตัว : ในกรณีที่จำเป็นต้องมียาติดตัวประจำควรให้แพทย์เขียนฉลากชื่อยาให้ชัดเจนเป็นภาษาอังกฤษ หรือออกใบรับรองแพทย์

For more information on how you can register with e-goal international education, click here or email info@egoal.com.au


Copyright © 2010 - 2012 E-Goal International Education. All right reserved. | E-Goal Calendar